ข้อบังคับ

 

 

รายละเอียด

 

 

หมวด  7
การประชุมใหญ่
ข้อ 59 การประชุมใหญ่  หมายถึง  การประชุมใหญ่สามัญและการประชุมใหญ่วิสามัญ  เมื่อสหกรณ์มีจำนวนสมาชิกเกินกว่าห้าร้อยคน  จะมีการประชุมใหญ่ประกอบด้วยบรรดาสมาชิกหรือการประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้แทนสมาชิกก็ได้
            การประชุมใหญ่สามัญ  ให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกบรรดาสมาชิก หรือผู้แทนสมาชิกแล้วแต่กรณี  มาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้งภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์
            การประชุมใหญ่วิสามัญ  คณะกรรมการดำเนินการจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ  เมื่อใดก็สุดแต่จะเห็น สมควรแต่ถ้านายทะเบียนสหกรณ์มีหนังสือแจ้งให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ  หรือในกรณีที่สหกรณ์เกิดการขาดทุนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้ว  ต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่สหกรณ์ ทราบ
            สมาชิกมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด  หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนหรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของผู้แทนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าห้าสิบคนลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอเพื่อการใดการหนึ่งต่อคณะกรรมการดำเนินการให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้  และให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวัน  นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ
            ถ้าคณะกรรมการดำเนินการไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย  มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้ภายในระยะเวลา ที่เห็นสมควร
            การประชุมใหญ่ตามข้อ 59 ให้ดำเนินการประชุมตามระเบียบของสหกรณ์ว่าด้วยการประชุมใหญ่
 
ข้อ 60 การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิก  จำนวนผู้แทนสมาชิก และการดำรงตำแหน่งของผู้แทนสมาชิก
            (1) สมาชิกในหน่วยงานใน(2) เท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนสมาชิก
            (2) ให้กำหนดหน่วยเลือกตั้งออกเป็นหน่วยหรือเขตและให้สมาชิกในหน่วยหรือ  เขตนั้น ๆ เป็นผู้เลือกตั้งตามระเบียบที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
            (3) ให้คณะกรรมการดำเนินการ  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิก
            (4) การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกคราวหนึ่ง ๆ ให้กระทำเสร็จภายใน 90 วัน  หลังจากวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ 
            จำนวนผู้แทนสมาชิก  สมาชิกแต่ละหน่วยหรือเขตเลือกตั้งผู้แทนของตนโดยอัตราส่วนจำนวนสมาชิกสิบคนต่อผู้แทนสมาชิกหนึ่งคน  ถ้าหน่วยใดมีเศษของอัตราส่วนเกินกึ่งหนึ่งให้มีผู้แทนสมาชิกเพิ่มอีกหนึ่งคน  และจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน
             การดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้แทนสมาชิก ให้เป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
             (1) มีการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกใหม่
             (2) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อคณะกรรมการดำเนินการ
             (3) ขาดจากสมาชิกภาพ
             (4) สมาชิกในที่ประชุมหน่วยนั้นลงมติถอดถอน
             (5) ย้ายหรือโอนไปอยู่หน่วยงานนอกเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอเดิม
             ตำแหน่งผู้แทนสมาชิกว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระ ถ้าผู้แทนสมาชิกพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ จนทำให้จำนวนผู้แทนสมาชิกเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยคน   หรือเหลือไม่ถึงสามในสี่ของจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมด  ก็ให้ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกให้ครบตามจำนวนที่ว่างลง  หรือจะได้ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกให้ครบตามที่กำหนดในวรรคสอง  ก็ได้และให้สมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าที่กำหนดเวลาที่ผู้ซึ่งตนแทนและให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าที่กำหนดเวลาที่เหลืออยู่
 
ข้อ 61 การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่  เมื่อมีการประชุมใหญ่ทุกคราว ให้สหกรณ์มีหนังสือแจ้งวัน  เวลา  สถานที่  และเรื่องที่จะประชุมให้บรรดาสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน  แต่ถ้าการประชุมนั้นเป็นการด่วนอาจแจ้งล่วงหน้าได้ตามสมควร ทั้งนี้ให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการเป็นผู้ลงชื่อในหนังสือนั้น  และต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์  และกรมตรวจบัญชี สหกรณ์ทราบล่วงหน้า  ในโอกาสเดียวกันกับที่แจ้งให้สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบด้วย
 
ข้อ 62 องค์ประชุมในการประชุมใหญ่  การประชุมใหญ่ของสหกรณ์ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของสมาชิกทั้งหมด  หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนหรือมีผู้แทนสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของผู้แทนสมาชิกทั้งหมด   หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนจึงจะเป็นองค์ประชุม
             ในการประชุมใหญ่คราวใดมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้นัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง   ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรกในการประชุมครั้งหลังนี้   ถ้ามิใช่การประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้เรียกประชุมแล้ว  เมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทั้งหมด   หรือไม่น้อยกว่าสามสิบคนก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม  แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้เรียกประชุมเมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกมาประชุมมีจำนวนไม่ถึงที่จะเป็นองค์ประชุมตามที่กล่าวในวรรคแรก  ก็ให้งดประชุม
               ในกรณีที่ประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก    สมาชิกทั่วไปสามารถเข้าที่ประชุมใหญ่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ได้  แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงและแสดงความคิดเห็นหรือได้รับการเลือกตั้งใด ๆ ทั้งสิ้น
               ในการประชุมใหญ่  สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาประชุมแทนตนไม่ได้
 
ข้อ 63 อำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์  ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
            (1) รับทราบเรื่องสมาชิกเข้าใหม่   สมาชิกออกจากสหกรณ์  การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกและวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของผู้สมัคร ซึ่งมิได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิก  และสมาชิกที่ถูกให้ออกจากสหกรณ์
            (2) พิจารณาเลือกตั้งและถอดถอนกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการและผู้สอบบัญชี  รับอนุญาต
            (3) พิจารณาอนุมัติงบดุล และจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์
            (4) รับทราบรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ ของคณะกรรมการดำเนินการและรายงานของผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์
            (5) พิจารณากำหนดบำเหน็จค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของกรรมการดำเนินการหรือกรรมการอื่นผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ และผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
            (6) พิจารณากำหนดวงเงินซึ่งสหกรณ์อาจกู้ยืมหรือค้ำประกัน
            (7) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงานและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์
            (8) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
            (9) รับทราบเรื่องการดำเนินงานของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และหรือชุมนุมสหกรณ์ที่สหกรณ์นี้เป็นสมาชิกอยู่
            (10) พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ หรือผู้ตรวจการสหกรณ์ หรือผู้สอบบัญชี ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้ง
            (11) กำหนดรูปการซึ่งสหกรณ์คิดจะทำเป็นเครื่องเกื้อหนุนบรรดาสมาชิก  ตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
หมวด 10
ข้อเบ็ดเสร็จ
ระเบียบของสหกรณ์
ข้อ 94 ระเบียบของสหกรณ์   ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบ ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งข้อบังคับนี้  และเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ของสหกรณ์รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
            (1) ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงิน
            (2) ระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกและดอกเบี้ยเงินกู้
            (3) ระเบียบว่าด้วยการรับ-จ่ายและเก็บรักษาเงิน
            (4) ระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
            (5) ระเบียบว่าด้วยการเก็บรักษา  การยืม  และการทำลายเอกสาร
            (6) ระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนสาธารณประโยชน์
            (7) ระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร  และค่ารักษาพยาบาลเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์
            (8) ระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับกรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์
            (9) ระเบียบว่าด้วยทุนส่งเสริมการศึกษา
            (10) ระเบียบว่าด้วยการพัสดุ
            (11) ระเบียบว่าด้วยการโอนสมาชิกระหว่างสหกรณ์
            (12) ระเบียบว่าด้วย  การกำหนดหน่วยเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
            (13) ระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์สมาชิกที่ถึงแก่กรรม
            (14) ระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินค่าทำศพทายาทของสมาชิกสหกรณ์
            (15) ระเบียบว่าด้วยเงินช่วยเหลือสมาชิกที่เกษียณอายุราชการ
            (16) ระเบียบว่าด้วยการใช้ยานพาหนะของสหกรณ์
            (17) ระเบียบว่าด้วยเงินสงเคราะห์สมาชิกประสบอุบัติเหตุและทุพพลภาพ
            (18) ระเบียบว่าด้วยเกณฑ์การส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนของสมาชิกสหกรณ์
            (19) ระเบียบว่าด้วยการประชุมใหญ่
            (20) ระเบียบว่าด้วยการลาและจ่ายเงินเดือนระหว่างลาสำหรับเจ้าหน้าที่
            (21) ระเบียบว่าด้วยเงินช่วยเหลือบุตรของเจ้าหน้าที่
            (22) ระเบียบว่าด้วยการประกันชีวิตผู้กู้เงินสหกรณ์
            (23) ระเบียบว่าด้วยการให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน
            (24) ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินจากสหกรณ์อื่น31
            (25) ระเบียบอื่น ๆที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดที่ไม่ขัดต่อข้อบังคับ
เฉพาะระเบียบตาม(1) (23) (24) ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์เสียก่อนจึงจะใช้บังคับได้ระเบียบตาม (12) ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่    ส่วนระเบียบอื่นเมื่อ    คณะกรรมการดำเนินการกำหนดใช้แล้วให้ส่งสำเนาให้นายทะเบียนสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบ   
 
ข้อ 95 การดำเนินคดีเกี่ยวกับความเสียหาย  ในกรณีที่ทรัพย์สินของสหกรณ์ถูกยักยอก หรือเสียหายโดยประการใดๆก็ดี หรือในกรณีที่สหกรณ์เรียกคืนเงินกู้ตามข้อ 17 ( 2) แต่มิได้ชำระตามเรียกคณะกรรมการดำเนินการต้องร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีตามกำหนดอายุความ
 
ข้อ 96 การตีความในข้อบังคับ ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในข้อบังคับข้อใด ให้สหกรณ์เสนอปัญหานั้นต่อนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อขอคำวินิจฉัย และให้สหกรณ์ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของนายทะเบียนสหกรณ์
 
ข้อ 97  การแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนใช้ข้อบังคับ   สหกรณ์อาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนใช้ข้อบังคับได้โดยมติแห่งที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกที่มาประชุมให้สหกรณ์เสนอขอจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนใช้ข้อบังคับนั้นต่อนายทะเบียนสหกรณ์  ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนแล้ว การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนใช้ข้อบังคับจึงเป็นอันสมบูรณ์
               การเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนใช้ข้อบังคับนั้น จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้แจ้งข้อความที่เสนอให้พิจารณานั้นโดยเตรียมสำนวนไปให้สมาชิกทราบล่วงหน้า พร้อมหนังสือแจ้งนัดประชุม
 
ข้อ 98 การจำหน่ายทรัพย์สินเมื่อสหกรณ์ต้องยกเลิก   เมื่อสหกรณ์ต้องเลิกและได้จัดการชำระบัญชีโดยจำหน่ายทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ตลอดทั้งจ่ายคืนเงินรับฝากพร้อมดอกเบี้ยและชำระหนี้สินอื่นๆ ของสหกรณ์เสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่า สหกรณ์มีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด ให้ผู้ชำระบัญชีจ่าย ตามลำดับต่อไปนี้
            (1) จ่ายคืนเงินค่าหุ้นให้แก่สมาชิกไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว
            (2) จ่ายเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว   แต่ต้องไม่เกินอัตราที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด
            (3) จ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืนตามข้อ 22 (2)
                  เงินที่จ่ายตามข้อ  (2) และ(3) เมื่อรวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินยอดรวมแห่งจำนวนเงินกำไรสุทธิที่ สหกรณ์หาได้ระหว่างปีที่เลิกสหกรณ์กับทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลที่ถอนไปตามข้อ 22 (4) ในปีนั้น
                   ตามมติของที่ประชุมใหญ่ หรือด้วยความเห็นชอบของนายทะเบียนสหกรณ์  ในกรณีที่ไม่อาจเรียกประชุมใหญ่ได้ภายในถ้ายังมีทรัพย์สินเหลืออยู่อีกให้โอนให้แก่สหกรณ์อื่น  หรือสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยสามเดือนนับแต่วันที่ชำระบัญชีเสร็จ
 
ข้อ 99 ในกรณีที่สหกรณ์มีสมาชิกเกินกว่าห้าร้อยคน ภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนถือใช้ข้อบังคับนี้แล้วให้สหกรณ์จัดให้มีผู้แทนสมาชิก ตามข้อ 60 ให้เสร็จสิ้นก่อนการประชุมใหญ่คราวต่อไป
 
ข้อ 100  ในกรณีที่ข้อบังคับนี้มิได้กำหนดข้อความเรื่องใดไว้    ให้สหกรณ์รับบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ตลอดจนคำสั่งและระเบียบปฏิบัติของนายทะเบียนสหกรณ์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งแห่ง      ข้อบังคับนี้ด้วย 
หมวด 9
ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์
ข้อ 84 การจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถและความเหมาะสม เพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการ ในการจ้างผู้จัดการสหกรณ์ต้องทำหนังสือสัญญาจ้างไว้เป็นหลักฐาน และให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกให้มีหลักประกันอันสมควร
         ในการแต่งตั้ง หรือจ้างผู้จัดการ ต้องให้ผู้จัดการรับทราบ และรับรองที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกำหนดไว้ตามข้อ 86 เป็นลายลักษณ์อักษร
         ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบของสหกรณ์เกี่ยวกับการคัดเลือก หรือสอบคัดเลือก การแต่งตั้งหรือจ้าง การกำหนดอัตราเงินเดือนการให้สวัสดิการและการให้ออกจากตำแหน่งของผู้จัดการสหกรณ์
         ให้นำความตามข้อ 65 (1) (3) (4) (5) (6) (7) มาบังคับใช้กับการจัดจ้างและการดำรงตำแหน่งของผู้จัดการ
 
ข้อ 85 อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้จัดการ  ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่จัดการทั่วไป และรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดากิจการประจำของสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
         (1) ตรวจสอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นการถูกต้อง ตลอดเป็นธุระ จัดให้ผู้เข้าเป็นสมาชิกลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับเงินค่าหุ้นตามข้อบังคับของสหกรณ์
         (2) ควบคุมให้มีการเก็บเงินค่าหุ้นรายเดือน แจ้งยอดจำนวนหุ้น จ่ายคืนค่าหุ้นและชักจูงการถือหุ้นในสหกรณ์
         (3) รับฝากเงิน จ่ายคืนเงินฝาก และชักจูงการฝากเงินในสหกรณ์
         (4) เป็นธุระในการตรวจสอบคำขอกู้  จ่ายเงินกู้  จัดทำเอกสารเกี่ยวกับเงินกู้และ  ดำเนินการอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องการให้เงินกู้ให้เป็นไปตามแบบและระเบียบของสหกรณ์ที่กำหนดไว้
         (5) จัดทำรายละเอียดเงินค่าหุ้นและเงินให้กู้แก่สมาชิกคงเหลือเป็นรายบุคคลทุกระยะหกเดือนพร้อมกับแจ้งให้สมาชิกทราบเป็นรายบุคคล เฉพาะของสมาชิกนั้น
         (6) เป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และลูกจ้างให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย
         (7) เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ  เรียกใบรับ หรือมีใบสำคัญโดยครบถ้วนรับผิดชอบในการรับ – จ่ายเงินทั้งปวงของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้อง รวบรวบใบสำคัญและเอกสารต่างๆเกี่ยวกับการเงินไว้โดยครบถ้วน  และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
         (8) รับผิดชอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่างๆของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
         (9) ติดต่อประสานงานกับเลขานุการในการนัดเรียกประชุมใหญ่  ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และประชุมคณะกรรมการอื่นๆ
         (10) รับผิดชอบจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุนและรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา  เสนอต่อที่ประชุมใหญ่
         (11) เข้าร่วมประชุมชี้แจงในการประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ เว้นแต่ในกรณีซึ่งที่ประชุมนั้นๆมิให้เข้าร่วมประชุม
         (12) ปฏิบัติการเกี่ยวกับการโต้ตอบหนังสือของสหกรณ์
         (13) รักษาดวงตราของสหกรณ์ และรับผิดชอบทรัพย์สินต่างๆของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย
         (14) เสนอรายงานกิจการประจำเดือนต่อคณะกรรมการดำเนินการ
         (15) เสนอรายการ หรือรายงานของสหกรณ์ต่อทางราชการตามแบบและระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด
         (16) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการอื่นๆของสหกรณ์มอบให้ หรือตามที่ควรกระทำ เพื่อให้กิจการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี
 
ข้อ 86 การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้จัดการ  ถ้าตำแหน่งผู้จัดการว่างลง   และยังไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดดำรงตำแหน่งแทน หรือเมื่อผู้จัดการไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว ให้รองผู้จัดการหรือผู้ช่วย  ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดไว้เป็นผู้รักษาการแทน
 
 ข้อ 87 การเปลี่ยนผู้จัดการ  ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้จัดการ ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการต้องจัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน กับบรรดาทรัพย์และหนี้สินของสหกรณ์ ตลอดจนจัดทำงบดุลของสหกรณ์เพื่อทราบฐานะอันแท้จริงก่อนที่จะส่งมอบงาน
 
ข้อ 88  เจ้าหน้าที่อื่น นอกจากตำแหน่งผู้จัดการแล้ว สหกรณ์อาจจัดจ้างและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อื่นตามความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานในสหกรณ์ ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
 
 ที่ปรึกษาและผู้ประสานงาน
ข้อ 89 ที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์  คณะกรรมการดำเนินการอาจเชิญสมาชิกหรือบุคคลภายนอกซึ่งทรงคุณวุฒิความสามารถ และเหมาะสมเป็นที่ปรึกษาหรือที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ได้เพื่อให้ความเห็นแนะนำในการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่สหกรณ์กำหนด
 
ข้อ 90 ผู้ประสานงาน  คณะกรรมการดำเนินการอาจแต่งตั้งผู้ประสานงานจากสหกรณ์หรือบุคคล  ภายนอกให้ช่วยดำเนินการในกิจการเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานของสหกรณ์
 
ผู้ตรวจสอบกิจการ
ข้อ 91 ผู้ตรวจสอบกิจการ  ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกหรือบุคคลภายนอกผู้มีคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถในด้านธุรกิจ การเงิน การบัญชี การเศรษฐกิจหรือการสหกรณ์คนหนึ่งหรือหลายคนให้เป็นผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์เป็นการประจำปี  จำนวนผู้ตรวจสอบกิจการ  ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาให้มีจำนวนห้าคน  ถ้าเป็นนิติบุคคลให้มีจำนวนหนึ่งนิติบุคคล
          ที่ประชุมใหญ่จะเลือกตั้งกรรมการดำเนินการหรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหน้าที่ประจำในสหกรณ์เป็นผู้ตรวจสอบกิจการไม่ได้
 
ข้อ 92 การดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบกิจการ   ผู้ตรวจสอบกิจการอยู่ในตำแหน่งได้มีกำหนดเวลา 1 ปี ทางบัญชีของสหกรณ์ ถ้าเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ยังไม่มีการเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการคนใหม่ ก็ให้ผู้ตรวจสอบกิจการคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน ผู้ตรวจสอบกิจการซึ่งออกไปนั้น อาจได้รับเลือกตั้งซ้ำ
 
ข้อ 93 อำนาจหน้าที่ของคณะผู้ตรวจสอบกิจการ คณะผู้ตรวจสอบกิจการมีอำนาจหน้าที่ ตรวจสอบการดำเนินงานทั้งปวงของสหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ คือ
         (1) ตรวจสอบเอกสาร สรรพสมุด บัญชี ทะเบียน และการเงิน ตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินทั้งปวงของสหกรณ์ เพื่อทราบฐานะและข้อเท็จจริงของสหกรณ์ที่เป็นอยู่จริง
         (2) ตรวจสอบหลักฐานและความถูกต้องของการดำเนินธุรกิจแต่ละประเภทของสหกรณ์  เพื่อประเมินผลและอาจให้ข้อแนะนำแก่คณะกรรมการดำเนินการ ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่อื่นๆและสหกรณ์ทั้งทางวิชาการและทางปฏิบัติในกิจการนั้น ๆ
         (3) ตรวจสอบการจัดจ้างและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสหกรณ์   ตลอดจนหนังสือสัญญาจ้าง และหลักประกัน
         (4) ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนงานและการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายของสหกรณ์
         (5) ติดตามผลการดำเนินการของคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อพิจารณาหาทางปรับปรุงแผนงาน ข้อบังคับและระเบียบ ตลอดจนมติต่างๆของคณะกรรมการดำเนินการ
         (6) ตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ หรือกิจการอื่นๆตามที่เห็นสมควร หรือที่เห็นว่าจะก่อให้เกิดผลดีแก่การดำเนินกิจการของสหกรณ์
             ให้ผู้ตรวจสอบกิจการเสนอรายงานผลการตรวจสอบประจำเดือนต่อคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมประจำเดือนคราวถัดไป แล้วเสนอผลการตรวจสอบประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ด้วย
หมวด 8
คณะกรรมการดำเนินการ
ข้อ 64 ให้มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์  ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบสี่คน  ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก 
          หน่วยเลือกตั้งและจำนวนกรรมการแต่ละหน่วยให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วย  การกำหนดหน่วยเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
          เมื่อที่ประชุมใหญ่เลือกคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แล้ว  ให้ประธานเลือกรองประธานกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน  และเลขานุการคนหนึ่งแล้วจึงแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่ทราบ 
 
ข้อ 65 ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้  สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์
          (1) เคยผิดนัดการส่งงวดชำระหนี้     ไม่ว่าเงินต้นหรือดอกเบี้ยในระยะเวลาสองปีทางบัญชีนับถึงวันเลือกตั้ง
          (2) เป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างประจำของสหกรณ์
          (3) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยความประมาท หรือความผิดลหุโทษ
          (4) เคยถูกไล่ออก  ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ  องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ฐานทุจริตต่อ หน้าที่
          (5) เคยถูกให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการหรือมีคำวินิจฉัยเป็นที่สุดให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการตามข้อ 69 (8)
          (6) เคยถูกที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งกรรมการเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่
          (7) เคยเป็นคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายต่อสหกรณ์
 
ข้อ 66 อำนาจหน้าที่ของกรรมการดำเนินการแต่ละตำแหน่ง
     (ก) ประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
          (1) เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และ  ควบคุมการประชุมดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
          (2) ควบคุมดูแลการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และอยู่ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
          (3) ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ในนามสหกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
          (4) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของสหกรณ์
     (ข) รองประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
         (1) ปฏิบัติการในอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการแทนประธานกรรมการ เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งประธานว่างลง
         (2)  ปฏิบัติการตามที่ประธานกรรมการมอบหมายให้
         (3) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของสหกรณ์
     (ค) เลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
         (1) จัดทำรายงานการประชุมใหญ่ และรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ  ทุกครั้ง
         (2) ดูแลรักษาเอกสาร และรายการประชุมของสหกรณ์ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
         (3) แจ้งนัดประชุมไปยังบรรดาสมาชิก หรือกรรมการดำเนินการแล้วแต่กรณี
         (4) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของสหกรณ์
 
ข้อ 67 กำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่ง คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันเลือกตั้ง ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันเลือกตั้ง ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนหนึ่งในสองของกรรมการดำเนินการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมดโดยวิธีจับฉลาก และให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
          และให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการดำเนินการเข้าดำรงตำแหน่งเท่ากับจำนวนกรรมการที่ออกไป
          เมื่อครบกำหนดแล้ว  หากยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการดำเนินการชุดใหม่ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการชุดเดิม รักษาการไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งกรรมการดำเนินการชุดใหม่
          กรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการเลือกตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
          กรรมการดำเนินการสหกรณ์ที่มีอยู่ในวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับนี้ให้ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งในวาระแรก
 
ข้อ 68 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่างลงก่อน  ถึงคราวออกตามวาระ  ให้อยู่ในดุลยพินิจของ  คณะกรรมการดำเนินการจะพิจารณา
         ให้กรรมการที่ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน
 
ข้อ 69 การพ้นจากตำแหน่งกรรมการดำเนินการสหกรณ์พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
          (1) จับฉลากออกในวาระแรก
          (2) ถึงคราวออกตามวาระ
          (3) ลาออกโดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ
          (4) ขาดจากสมาชิกภาพ
          (5) เข้ารับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำในสหกรณ์
          (6) เป็นผู้ผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ย
          (7) ที่ประชุมใหญ่มีมติถอดถอนทั้งคณะหรือรายตัว
          (8) นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้ออกทั้งคณะหรือรายตัว
          (9) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
          (10) ถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐ  หรือเอกชนฐานทุจริตต่อหน้าที่
          (11) ได้รับคำสั่งแต่งตั้ง (ย้าย) ไปดำรงตำแหน่งนอกเขตจังหวัดสุรินทร์
 
ข้อ 70 ถ้าคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ว่างลงเพราะเหตุตามข้อ 69 (8) และเป็นการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ นายทะเบียนสหกรณ์จะแต่งตั้งกรรมการดำเนินการชั่วคราวตามระเบียบกฎหมายของสหกรณ์
          คณะกรรมการดำเนินการชั่วคราว ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคแรกอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและก่อนพ้นจากตำแหน่ง  ให้คณะกรรมการดำเนินการชั่วคราวนั้น เรียกประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งกรรมการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 64
 
ข้อ 71 การประชุมและองค์ประชุม ให้คณะกรรมการดำเนินการประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย
          ให้ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการ นัดเรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการได้ ในกรณีที่เป็นการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบ ข้อบังคับ และเรื่องที่สำคัญอื่น ๆ ของสหกรณ์ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีทราบด้วยทุกคราว
          ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ต้องมีกรรมการดำเนินการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการดำเนินการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
 
ข้อ 72  อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ  คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับและตามมติของที่ประชุมใหญ่กับทั้งในทางอันจะทำให้เกิดความจำเริญแก่สหกรณ์ทุกประการ   ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
          (1)  ดำเนินการในเรื่องการรับสมาชิกและสมาชิกออกจากสหกรณ์  ตลอดจนดูแลให้สมาชิกปฏิบัติการต่างๆ  ตามข้อบังคับ   ระเบียบ   และมติของสหกรณ์
          (2) พิจารณาดำเนินการในเรื่องการรับฝาก   การกู้ยืมเงิน   การให้เงินกู้  และการฝากหรือลงทุนเงินของสหกรณ์
          (3) กำหนดและดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมใหญ่และเสนองบดุลกับรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่
          (4)  เสนอการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อขออนุมัติ
          (5) พิจารณาจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีและนำเสนอที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
          (6) พิจารณากำหนดค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พักและค่าเบี้ยประชุมของกรรมการดำเนินการ  คณะกรรมการอื่นๆ  ที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติศักดิ์
          (7) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งหรือจ้าง  และกำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้จัดการ  เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง  ตลอดจนควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้จัดการ  เจ้าหน้าที่และลูกจ้างให้เป็นการถูกต้อง       
          (8) กำหนดระเบียบต่างๆ  ของสหกรณ์
          (9)  จัดให้มีและดูแลให้เรียบร้อยซึ่งบรรดาทะเบียนสมุดบัญชีเอกสารต่างๆ และบรรดาอุปกรณ์ดำเนินงานของสหกรณ์
          (10)  พิจารณาให้สหกรณ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกของชุมนุมสหกรณ์
          (11) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ  หรือคณะทำงานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์
          (12)  พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์หรือผู้ตรวจการสหกรณ์หรือผู้สอบบัญชี   หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย
          (13)  พิจารณาให้ความเที่ยงธรรมแก่บรรดาสมาชิก  เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสหกรณ์ตลอดจนดูแลสอดส่องโดยทั่วไป  เพื่อให้กิจการของสหกรณ์ดำเนินไปด้วยดี
          (14)  พิจารณารายงานคณะกรรมการอำนวยการคณะกรรมกการอื่นๆ   หรือผู้ตรวจสอบกิจการหรือความเห็นของผู้จัดการหรือสมาชิกเกี่ยวกับกิจการ   ของสหกรณ์
          (15) เชิญสมาชิกหรือบุคคลภายนอกที่เห็นสมควรเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการดำเนินการตลอดจนกำหนดค่าตอบแทนให้ตามที่เห็นสมควร
          (16) ฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์  หรือประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด
          (17) เสนอแผนงานและเป้าหมายในการดำเนินงาน  รวมทั้งประมาณการรายจ่ายประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ   
          (18) ทำการต่างๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน  ดังระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
          (19)  พิจารณาแต่งตั้งกรรมการดำเนินการเป็นผู้แทนของสหกรณ์   เพื่อเข้าประชุมใหญ่และออกเสียงในการประชุมใหญ่ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และหรือชุมนุมสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์นี้เป็นสมาชิกทั้งนี้ตามข้อบังคับของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยและหรือชุมนุมสหกรณ์กำหนดไว้
         (20) พิจารณามอบหมายอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานให้แก่ประธานกรรมการ  รองประธานกรรมการ  เลขานุการ  หรือผู้จัดการ  หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตามความเหมาะสม 
 
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการดำเนินการ
ข้อ 73 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ  ถ้ากรรมการดำเนินการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย  คณะกรรมการดำเนินการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์
          ในกรณีที่กรรมการ  ผู้จัดการ  หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ทำให้สหกรณ์เสียหาย  ถ้าสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี  ให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีแทนสหกรณ์ได้  และให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้สหกรณ์  โดยให้สหกรณ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์  ฟ้องคดีหรือการว่าต่างแก่นายทะเบียนสหกรณ์  รองนายทะเบียนสหกรณ์  หรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี
คณะกรรมการอำนวยการ
ข้อ 74  คณะกรรมการอำนวยการ   ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน  รองประธานกรรมการ  เลขานุการหนึ่งคน  และกรรมการอื่นรวมไม่เกิน 5 คน  เป็นกรรมการอำนวยการ
           ให้คณะกรรมการอำนวยการประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ  แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย  และให้ประธานกรรมการอำนวยการ   หรือเลขานุการนัดเรียกประชุมได้  ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ต้องมีกรรมการอำนวยการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการอำนวยการ   ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
           ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการอำนวยการ   ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบ
 
ข้อ 75   อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ  ห้คณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ดำเนินกิจการแทนคณะกรรมการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย และตามข้อบังคับ ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
            (1) ควบคุมในเรื่องการรับเงิน   การจ่ายเงิน   การสะสมเงิน   การฝากเงิน   หรือการเก็บรักษาเงินให้เป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์
            (2)  ควบคุมการจัดทำบัญชี  และทะเบียนต่างๆ  ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
            (3)  ควบคุมดูแลเก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่างๆ    ตลอดจนทรัพย์สินของสหกรณ์  ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย   และพร้อมที่จะนำมาให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทันที
            (4)  เสนอแนะคณะกรรมการดำเนินการในการปรับปรุงหรือแก้ไขการบริหารงานของสหกรณ์
            (5) ควบคุมดูแลการจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุนและรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
            (6) พิจารณาการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์  เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณา
            (7) จัดทำแผนงานและงบประมาณประจำปีของสหกรณ์  เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณารับรองและนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติ
            (8) ทำนิติกรรมต่างๆ  เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมาย 
 
คณะกรรมการเงินกู้
ข้อ 76 คณะกรรมการเงินกู้  ให้คณะกรรมการดำเนินการตั้งกรรมการดำเนินการของสหกรณ์จำนวน  ไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการเงินกู้  โดยให้มีตำแหน่งประธานกรรมการคนหนึ่ง  และเลขานุการคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นกรรมการ
          ให้คณะกรรมการเงินกู้ประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ  แต่ต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็น   อย่างน้อย  และให้ประธานกรรมการเงินกู้หรือเลขานุการเรียกประชุมได้
          ในการประชุมคณะกรรมการเงินกู้   ต้องมีกรรมการเงินกู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการเงินกู้ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
          ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการเงินกู้ให้นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการทราบในการประชุมในคราวถัดไป
 
ข้อ 77 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเงินกู้  ให้คณะกรรมการเงินกู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุมัติเงินกู้แก่สมาชิกตามข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์รวมทั้งข้อต่อไปนี้
          (1) ตรวจสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิกให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น
          (2) ตรวจสอบควบคุมให้เงินกู้มีหลักประกันตามที่กำหนด ไว้ในระเบียบของสหกรณ์  และเมื่อเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดบกพร่องก็ต้องกำหนดให้ผู้กู้จัดการแก้ไขให้คืนดี
          (3) ดูแลการชำระหนี้ของสมาชิกผู้กู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
          (4) สอบสวนเบื้องต้นให้ได้ข้อความจริง  ในกรณีสมาชิกผู้กู้ขอผ่อนเวลาการส่งเงินงวดชำระหนี้เงินกู้หรือผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้  เพื่อเสนอความเห็นให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาผ่อนผันหรือเรียกคืนเงินกู้หรือสอบสวนลงโทษให้สมาชิกออกจากสหกรณ์
คณะกรรมการศึกษา
ข้อ 78 คณะกรรมการศึกษา  ให้คณะกรรมการดำเนินการตั้งกรรมการดำเนินการจำนวนไม่เกินห้าคนเป็นคณะกรรมการศึกษา  โดยให้มีตำแหน่งเป็นประธานคนหนึ่งและเลขานุการคนหนึ่ง  นอกนั้นเป็นกรรมการ
          ให้คณะกรรมการศึกษาประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ  แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อยและให้ประธานกรรมการหรือเลขานุการนัดเรียกประชุมได้
          ในการประชุมคณะกรรมการศึกษา  ต้องมีกรรมการมาประชุม  ไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของคณะกรรมการศึกษาทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
          ให้คณะกรรมการศึกษารายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการดำเนินการทราบในการประชุมคราวถัดไป
 
ข้อ 79  อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษา   ให้คณะกรรมการศึกษามีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามข้อบังคับตลอดจนระเบียบของสหกรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนมติ   และคำสั่งของคณะกรรมการดำเนินการซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
           (1) ให้การศึกษาอบรมสมาชิกและผู้ที่สนใจให้ทราบถึงเจตนารมณ์  หลักวิธีการและการบริหารงานของสหกรณ์
           (2) ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกและบุคคลภายนอกได้ทราบถึงผลงานของสหกรณ์ที่ได้ดำเนินงานไป
           (3) ดำเนินการในการหาผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก
           (4) ให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิกถึงวิธีการออมทรัพย์และการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบตลอดจนวิชาการต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ
           (5) ศึกษาและติดตามข่าวคราวเคลื่อนไหวด้านการดำเนินงานสหกรณ์อื่นทั้งในและนอกประเทศ เพื่อนำตัวอย่างที่ดีมาเสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณานำมาบริการแก่สมาชิก
ประธานในที่ประชุม
ข้อ 80 ประธานในที่ประชุม ในการประชุมใหญ่ หรือการประชุมคณะกรรมการดำเนินการให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุมถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมก็ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุมและถ้ารองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมด้วย ก็ให้ที่ประชุมเลือกตั้ง กรรมการดำเนินการคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมในคราวนั้น
          ในการประชุมคณะกรรมการอื่นๆ เช่น คณะกรรมการอำนวยการ  คณะกรรมการกู้เงิน  คณะกรรมการศึกษา ให้ประธานคณะกรรมการนั้นๆเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานคณะกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมก็ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน ในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น
การออกเสียงและการวินิจฉัยปัญหาในที่ประชุม
ข้อ 81 การออกเสียง สมาชิกหรือกรรมการดำเนินการหรือกรรมการอื่นๆออกเสียงในที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ได้เพียงคนละหนึ่งเสียง จะมอบให้ผู้อื่นมาประชุมและออกเสียงแทนตนไม่ได้ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
          ถ้าปัญหาซึ่งที่ประชุมวินิจฉัยนั้น ผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเฉพาะตัวผู้นั้นจะออกเสียงในเรื่องนั้นไม่ได้
 
ข้อ 82 การวินิจฉัยปัญหา  เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นพิเศษในข้อบังคับนี้ การวินิจฉัยปัญหาต่างๆในที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ   หรือที่ประชุมคณะกรรมการอื่นๆให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่กรณี   ต่อไปนี้ให้ถือเสียงสองในสามของจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกที่มาประชุม
         (1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
         (2) การเลิกสหกรณ์
         (3) การแยกสหกรณ์
         (4) การควบสหกรณ์
 
รายงานการประชุม
ข้อ 83 รายงานการประชุม  ในการประชุมใหญ่ หรือการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ หรือการประชุมคณะกรรมการอื่นๆนั้น ต้องจัดให้ผู้เข้าประชุมลงลายมือชื่อพร้อมทั้งบันทึกเรื่องที่พิจารณาวินิจฉัยทั้งสิ้นไว้ในรายงานการประชุม และให้ประธานในที่ประชุมกับกรรมการดำเนินการหรือกรรมการอื่น ๆ แล้วแต่กรณีอีก คนหนึ่งที่เข้าประชุมนั้นๆลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
บัญชีธนาคารสหกรณ์ฯ
สมาชิกที่ประสงคฺ์จะโอนเงินฝากหรือชำระหุ้น-หนี้เข้าบัญชีสหกรณ์ ท่านสามารถโอนเงินหรือเช็ค ผ่านบัญชีของสหกรณ์ที่ธนาคารต่าง ๆตามรายชื่อธนาคารและ เลขบัญชีประเภทออมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ธนาคาร
สาขา
เลขบัญชี
ธนาคารกรุงไทย สุรินทร์ 310-1-25286-5
โปรดแจ้งสหกรณ์พร้อมส่งสลิปรับฝากของธนาคาร ระบุเลขบัญชี ชื่อบัญชี ที่ต้องการนำฝาก/ชำระหนี้และแจ้งให้เจ้าหน้าที่การเงินทราบหรือส่งโทรสารพร้อมแจ้งรายละเอียดการนำฝากที่หมายเลข โทรสาร.044-512110 โทร. 044-512981,044-512982 ก่อนเวลา 12.00 น. ของวันที่ทำรายการโอน 

รายการย่อแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน

ภาพกิจกรรม

 

 
ณ หอประชุมโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ หอประชุมโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
อำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนรัตนบุรี
อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย
อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์
อำเภอจอมพระ  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนบัวเชดวิทยา
อำเภอบัวเชด  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร
อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์
 
  ดูเพิ่มเติม
   

ตรวจสอบข้อมูลสมาชิก

วารสารสหกรณ์ฯ

ปันผล/เฉลี่ยคืน

รายการ ปี 2566 ร้อยละ
ปันผล 6
เฉลี่ยคืน 14
เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1544841

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

 ประเภทเงินฝาก ร้อยละ 
ออมทรัพย์   2.75
ออมทรัพย์เกษียณมั่นคง  3.20
ออมทรัพย์พิเศษ 1  3.00
ออมทรัพย์พิเศษ 2  3.10
ออมทรัพย์พิเศษ 3  3.15
ออมทรัพย์พิเศษ 4  2.75
ออมทรัพย์พิเศษ 4
(สำหรับสมาชิก)
 3.20
ออมทรัพย์พิเศษ 4
(สำหรับสหกรณ์อื่น)ไม่เกิน
 2.75

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

 ประเภทเงินกู้  ร้อยละ
เงินกู้ฉุกเฉิน 4.75
เงินกู้สามัญทั่วไป 6.50
เงินกู้สามัญ A.T.M. 6.50
เงินกู้สามัญค่าวิทยฐานะ
และค่าตอบแทน
6.50
เงินกู้พิเศษปันผลรายปี 6.50
เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะ 5.00
เงินกู้สามัญเพื่อ
จัดทำกรมธรรม์ประกันเงินกู้
6.00
เงินกู้สามัญเพื่อประกอบอาชีพเสริม 5.50

 

ร้องเรียนหรือแจ้งข้อเสนอแนะ

JSN Epic template designed by JoomlaShine.com