หมวด 9
ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์
ข้อ 84 การจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถและความเหมาะสม เพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการ ในการจ้างผู้จัดการสหกรณ์ต้องทำหนังสือสัญญาจ้างไว้เป็นหลักฐาน และให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกให้มีหลักประกันอันสมควร
         ในการแต่งตั้ง หรือจ้างผู้จัดการ ต้องให้ผู้จัดการรับทราบ และรับรองที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกำหนดไว้ตามข้อ 86 เป็นลายลักษณ์อักษร
         ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบของสหกรณ์เกี่ยวกับการคัดเลือก หรือสอบคัดเลือก การแต่งตั้งหรือจ้าง การกำหนดอัตราเงินเดือนการให้สวัสดิการและการให้ออกจากตำแหน่งของผู้จัดการสหกรณ์
         ให้นำความตามข้อ 65 (1) (3) (4) (5) (6) (7) มาบังคับใช้กับการจัดจ้างและการดำรงตำแหน่งของผู้จัดการ
 
ข้อ 85 อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้จัดการ  ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่จัดการทั่วไป และรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดากิจการประจำของสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
         (1) ตรวจสอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นการถูกต้อง ตลอดเป็นธุระ จัดให้ผู้เข้าเป็นสมาชิกลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับเงินค่าหุ้นตามข้อบังคับของสหกรณ์
         (2) ควบคุมให้มีการเก็บเงินค่าหุ้นรายเดือน แจ้งยอดจำนวนหุ้น จ่ายคืนค่าหุ้นและชักจูงการถือหุ้นในสหกรณ์
         (3) รับฝากเงิน จ่ายคืนเงินฝาก และชักจูงการฝากเงินในสหกรณ์
         (4) เป็นธุระในการตรวจสอบคำขอกู้  จ่ายเงินกู้  จัดทำเอกสารเกี่ยวกับเงินกู้และ  ดำเนินการอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องการให้เงินกู้ให้เป็นไปตามแบบและระเบียบของสหกรณ์ที่กำหนดไว้
         (5) จัดทำรายละเอียดเงินค่าหุ้นและเงินให้กู้แก่สมาชิกคงเหลือเป็นรายบุคคลทุกระยะหกเดือนพร้อมกับแจ้งให้สมาชิกทราบเป็นรายบุคคล เฉพาะของสมาชิกนั้น
         (6) เป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และลูกจ้างให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย
         (7) เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ  เรียกใบรับ หรือมีใบสำคัญโดยครบถ้วนรับผิดชอบในการรับ – จ่ายเงินทั้งปวงของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้อง รวบรวบใบสำคัญและเอกสารต่างๆเกี่ยวกับการเงินไว้โดยครบถ้วน  และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
         (8) รับผิดชอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่างๆของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
         (9) ติดต่อประสานงานกับเลขานุการในการนัดเรียกประชุมใหญ่  ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และประชุมคณะกรรมการอื่นๆ
         (10) รับผิดชอบจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุนและรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา  เสนอต่อที่ประชุมใหญ่
         (11) เข้าร่วมประชุมชี้แจงในการประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ เว้นแต่ในกรณีซึ่งที่ประชุมนั้นๆมิให้เข้าร่วมประชุม
         (12) ปฏิบัติการเกี่ยวกับการโต้ตอบหนังสือของสหกรณ์
         (13) รักษาดวงตราของสหกรณ์ และรับผิดชอบทรัพย์สินต่างๆของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย
         (14) เสนอรายงานกิจการประจำเดือนต่อคณะกรรมการดำเนินการ
         (15) เสนอรายการ หรือรายงานของสหกรณ์ต่อทางราชการตามแบบและระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด
         (16) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการอื่นๆของสหกรณ์มอบให้ หรือตามที่ควรกระทำ เพื่อให้กิจการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี
 
ข้อ 86 การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้จัดการ  ถ้าตำแหน่งผู้จัดการว่างลง   และยังไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดดำรงตำแหน่งแทน หรือเมื่อผู้จัดการไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว ให้รองผู้จัดการหรือผู้ช่วย  ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดไว้เป็นผู้รักษาการแทน
 
 ข้อ 87 การเปลี่ยนผู้จัดการ  ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้จัดการ ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการต้องจัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน กับบรรดาทรัพย์และหนี้สินของสหกรณ์ ตลอดจนจัดทำงบดุลของสหกรณ์เพื่อทราบฐานะอันแท้จริงก่อนที่จะส่งมอบงาน
 
ข้อ 88  เจ้าหน้าที่อื่น นอกจากตำแหน่งผู้จัดการแล้ว สหกรณ์อาจจัดจ้างและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อื่นตามความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานในสหกรณ์ ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
 
 ที่ปรึกษาและผู้ประสานงาน
ข้อ 89 ที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์  คณะกรรมการดำเนินการอาจเชิญสมาชิกหรือบุคคลภายนอกซึ่งทรงคุณวุฒิความสามารถ และเหมาะสมเป็นที่ปรึกษาหรือที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ได้เพื่อให้ความเห็นแนะนำในการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่สหกรณ์กำหนด
 
ข้อ 90 ผู้ประสานงาน  คณะกรรมการดำเนินการอาจแต่งตั้งผู้ประสานงานจากสหกรณ์หรือบุคคล  ภายนอกให้ช่วยดำเนินการในกิจการเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานของสหกรณ์
 
ผู้ตรวจสอบกิจการ
ข้อ 91 ผู้ตรวจสอบกิจการ  ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกหรือบุคคลภายนอกผู้มีคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถในด้านธุรกิจ การเงิน การบัญชี การเศรษฐกิจหรือการสหกรณ์คนหนึ่งหรือหลายคนให้เป็นผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์เป็นการประจำปี  จำนวนผู้ตรวจสอบกิจการ  ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาให้มีจำนวนห้าคน  ถ้าเป็นนิติบุคคลให้มีจำนวนหนึ่งนิติบุคคล
          ที่ประชุมใหญ่จะเลือกตั้งกรรมการดำเนินการหรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหน้าที่ประจำในสหกรณ์เป็นผู้ตรวจสอบกิจการไม่ได้
 
ข้อ 92 การดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบกิจการ   ผู้ตรวจสอบกิจการอยู่ในตำแหน่งได้มีกำหนดเวลา 1 ปี ทางบัญชีของสหกรณ์ ถ้าเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ยังไม่มีการเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการคนใหม่ ก็ให้ผู้ตรวจสอบกิจการคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน ผู้ตรวจสอบกิจการซึ่งออกไปนั้น อาจได้รับเลือกตั้งซ้ำ
 
ข้อ 93 อำนาจหน้าที่ของคณะผู้ตรวจสอบกิจการ คณะผู้ตรวจสอบกิจการมีอำนาจหน้าที่ ตรวจสอบการดำเนินงานทั้งปวงของสหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ คือ
         (1) ตรวจสอบเอกสาร สรรพสมุด บัญชี ทะเบียน และการเงิน ตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินทั้งปวงของสหกรณ์ เพื่อทราบฐานะและข้อเท็จจริงของสหกรณ์ที่เป็นอยู่จริง
         (2) ตรวจสอบหลักฐานและความถูกต้องของการดำเนินธุรกิจแต่ละประเภทของสหกรณ์  เพื่อประเมินผลและอาจให้ข้อแนะนำแก่คณะกรรมการดำเนินการ ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่อื่นๆและสหกรณ์ทั้งทางวิชาการและทางปฏิบัติในกิจการนั้น ๆ
         (3) ตรวจสอบการจัดจ้างและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสหกรณ์   ตลอดจนหนังสือสัญญาจ้าง และหลักประกัน
         (4) ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนงานและการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายของสหกรณ์
         (5) ติดตามผลการดำเนินการของคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อพิจารณาหาทางปรับปรุงแผนงาน ข้อบังคับและระเบียบ ตลอดจนมติต่างๆของคณะกรรมการดำเนินการ
         (6) ตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ หรือกิจการอื่นๆตามที่เห็นสมควร หรือที่เห็นว่าจะก่อให้เกิดผลดีแก่การดำเนินกิจการของสหกรณ์
             ให้ผู้ตรวจสอบกิจการเสนอรายงานผลการตรวจสอบประจำเดือนต่อคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมประจำเดือนคราวถัดไป แล้วเสนอผลการตรวจสอบประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ด้วย
บัญชีธนาคารสหกรณ์ฯ
สมาชิกที่ประสงคฺ์จะโอนเงินฝากหรือชำระหุ้น-หนี้เข้าบัญชีสหกรณ์ ท่านสามารถโอนเงินหรือเช็ค ผ่านบัญชีของสหกรณ์ที่ธนาคารต่าง ๆตามรายชื่อธนาคารและ เลขบัญชีประเภทออมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ธนาคาร
สาขา
เลขบัญชี
ธนาคารกรุงไทย สุรินทร์ 310-1-25286-5
โปรดแจ้งสหกรณ์พร้อมส่งสลิปรับฝากของธนาคาร ระบุเลขบัญชี ชื่อบัญชี ที่ต้องการนำฝาก/ชำระหนี้และแจ้งให้เจ้าหน้าที่การเงินทราบหรือส่งโทรสารพร้อมแจ้งรายละเอียดการนำฝากที่หมายเลข โทรสาร.044-512110 โทร. 044-512981,044-512982 ก่อนเวลา 12.00 น. ของวันที่ทำรายการโอน 

รายการย่อแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน

ภาพกิจกรรม

 

 
ณ หอประชุมโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ หอประชุมโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
อำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนรัตนบุรี
อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย
อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์
อำเภอจอมพระ  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนบัวเชดวิทยา
อำเภอบัวเชด  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ณ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร
อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์
 
  ดูเพิ่มเติม
   

ตรวจสอบข้อมูลสมาชิก

วารสารสหกรณ์ฯ

ปันผล/เฉลี่ยคืน

รายการ ปี 2566 ร้อยละ
ปันผล 6
เฉลี่ยคืน 14
เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1545121

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

 ประเภทเงินฝาก ร้อยละ 
ออมทรัพย์   2.75
ออมทรัพย์เกษียณมั่นคง  3.20
ออมทรัพย์พิเศษ 1  3.00
ออมทรัพย์พิเศษ 2  3.10
ออมทรัพย์พิเศษ 3  3.15
ออมทรัพย์พิเศษ 4  2.75
ออมทรัพย์พิเศษ 4
(สำหรับสมาชิก)
 3.20
ออมทรัพย์พิเศษ 4
(สำหรับสหกรณ์อื่น)ไม่เกิน
 2.75

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

 ประเภทเงินกู้  ร้อยละ
เงินกู้ฉุกเฉิน 4.75
เงินกู้สามัญทั่วไป 6.50
เงินกู้สามัญ A.T.M. 6.50
เงินกู้สามัญค่าวิทยฐานะ
และค่าตอบแทน
6.50
เงินกู้พิเศษปันผลรายปี 6.50
เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะ 5.00
เงินกู้สามัญเพื่อ
จัดทำกรมธรรม์ประกันเงินกู้
6.00
เงินกู้สามัญเพื่อประกอบอาชีพเสริม 5.50

 

ร้องเรียนหรือแจ้งข้อเสนอแนะ

JSN Epic template designed by JoomlaShine.com